คำชี้แจง ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
คือ
กฏหรือข้อบังคับที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการควบคุมพฤติกรรมหรือการกระทำของประชาชน
พลเมืองในประเทศนั้น หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือละเมิดก็จะถูกลงโทษ
ส่วนการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่า
การบังคับใช้กฎหมายนั้นทุกคนที่อยู่ในประเทศภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรย์ทรงเป็นประมุขมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกันทั้งประชาชน
พลเรือน นักการเมือง หรือข้าราช ดังนั้นหากผู้ใดฝ่าฝืนก็จะต้องรับโทษตามกฎหมาย
ไม่ใช่ว่าคนนี้เป็นผู้มีอำนาจมีอิทธิพลไม่สามารถบังคับใช้กำหมายนี้ได้
2. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู
ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ
และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
เห็นด้วยถ้าหากบุคคลเหล่านั้นได้ผ่านการฝึกอบรมและปฏิบัติการสอนมาแล้วเพื่อเป็นเครื่องมือยืนยันว่า
ผู้บริหารสถานศึกษา
ผูุ้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถและมีจรรยาบรรณวิชาชีพครูที่เหมาะสมจึงเห็นสมควรที่จะได้รับใบประกอบวิชาชีพเพื่อเป็นแนวทางไปสู่การทำงานที่ดีและมีคุณค่าทางสังคม
3. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ก่อนอื่นก็ต้องขอความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับชุมชนทุกฝ่าย
เช่น ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรชุมชน และสถานบันอื่นๆ ช่วยระดมทุนและทรัพยาการเพื่อการศึกษา
อาทิ
จัดงานการกุศลหารายได้เพื่อมอบเงินรายได้ให้กับโรงเรียนเพื่อใช้เป็นทุนในการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษาที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
4. รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
การศึกษามี 3 รูปแบบ การศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
5. ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
การศึกษาภาคบังคับให้มีการศึกษาเก้าปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าศึกษาเข้าศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก
การศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา
การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
แตกต่างกันที่การศึกษาภาคบังคับเด็กจะต้องเรียนจนจบชั้น ม.3 และต่อในการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่การศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ได้บังคับผู้เรียนจะเรียนต่อก็ได้
6. การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร
และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
จัดให้มีการแบ่งส่วนราชการ
โดยมีหัวหน้าส่วนราชการดังต่อไปนี้
1. สำนักงานรัฐมนตรี
2. สำนักงานปลัดกระทรวง
3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
6. สำนักงานกรรมการอาชีวศึกษา
" โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา เป็นหัวหน้าส่วนราชการ"
7. จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546
เนื่องจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นแนวทางหรือกรอบการทำงานของบุคลากรทุกฝ่าย ซึ่งรวมทั้งการที่บุคลากรจะต้องยึดถือและปฏิบัติตรงกันในการรับใบประกอบวิชาชีพ
เนื่องจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นแนวทางหรือกรอบการทำงานของบุคลากรทุกฝ่าย ซึ่งรวมทั้งการที่บุคลากรจะต้องยึดถือและปฏิบัติตรงกันในการรับใบประกอบวิชาชีพ
8. ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า
ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว
หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ไม่ได้กระทำผิดตาม พรบสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา 2546 เนื่องจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา 2546 มาตรา 43 บัญญัติไว้ว่า"
ให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา
และผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัตินี้
การกำหนดวิชาชีพควบคุมควบคุมอื่นให้เป็นไปตามกฎกำหนดในกระทรวงห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม
โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
2. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
3. นักเรียน นักศึกษา
หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ไดรับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน
ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในการควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ตามปกติ
9. ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน
อะไรบ้าง
โทษทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มี 5 สถานคือ
ความผิดวินัยไม่ร้ายแรง
1. ภาคทัณฑ์ เป็นโทษสำหรับกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย
หรือมีเหตุอันควรลดหย่อน ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือนนอกจากนี้
ในกรณีกระทำความผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ
จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
2. ตัดเงินเดือน
เป็นการลงโทษตัดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนและเป็นจำนวนเดือน เช่น
ตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน เมื่อพ้นเวลา2 เดือนแล้วก็จะได้รับเงินเดือนตามปกติ
3. ลดเงินเดือน เป็นการลงโทษโดยลดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์เช่น
ลดเงินเดือน 2% หรือ 4% ของอัตราเงินเดือนของผู้กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
4.ปลดออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ
โดยได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ
5. ไล่ออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญ
10. ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า
เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ
พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย
ตามความเข้าของท่าน
เด็ก คือ
บุคคลตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งอายุไม่เกิดสิบแปดปี ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
เด็กเร่ร่อน คือ เด็กที่ไม่มีผู้ปกครองคอยดูแล
เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดไม่ได้รับการศึกษาไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งเด็กเหล่านี้จะมีนิสัยก้าวร้าวเกเร
เด็กกำพร้า คือ เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต
หรือไม่ทราบว่าเป็นบุตรของใคร
เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก คือ
เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง
หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก
หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา
หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
ทารุณกรรม คือ เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่
ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี
หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น