วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4

                                               ให้นักศึกษาอ่านเนื้อหาแล้วตอบคำถาม
                               ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 ...บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ)

1.   เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
               โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาได้กำหนดให้บิดามารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
2.  ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
          ก. ผู้ปกครอง ข.เด็ก ค.การศึกษาภาคบังคับ ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                 ก. ผู้ปกครอง หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
                 ข.  เด็ก หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้า ของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
                 ค.  การศึกษาภาคบังคับ หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึง ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
                 ง. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด
3.  กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
              ผู้ปกครองที่ไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 6 จะต้อง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทและถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาได้ผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน คือ สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มีทั้งหมด 21ข้อ  
                 (1) อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ในพรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
             (2) อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ คือ จัดการศึกษา บำรุงศาสนา และ สืบสานศิลปวัฒนธรรม
             (3) การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดได้เป็น 3 ส่วนคือ ส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาของ  
 รัฐระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
             (4) การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการให้คำนึงถึง

                    - คุณวุฒิ ประสบการณ์ และมาตรฐานวิชาชีพ
                        - ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพงาน

                 (5) บทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องดำเนินการตาม พรบ. นี้คือ อำนาจในการออกกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ และ ตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งและหน่วยงาน
                 (6) การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานรัฐมนตรีและ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
                 (7) ส่วนราชการส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานรัฐมนตรี ไม่เป็นนิติบุคคล ส่วน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
                 (8) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาและ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นนิติบุคคล
                 (9)  ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                (10) อำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษา คือ พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติพิจารณาเสนอนโยบายแผนและมาตรฐานการศึกษา และพิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
                (11) ประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
                (12)  คณะกรรมการสภาการศึกษา กำหนดตำแหน่งประธานกรรมการไว้ใน พรบ. 2546
                (13) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทำหน้าที่รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                (14) หน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ คือ นิเทศให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อ การปรับปรุงตรวจราชการ และศึกษาวิเคราะห์ วิจัย
                 (15) หน่วยงานระดับที่สามารถมีผู้ตรวจราชการได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการกรมหรือหน่วยงานเทียบเท่ากรม และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
                 (16) บทบาทของคณะตรวจราชการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คือ ศึกษา วิเคราะห์วิจัย นิเทศติดตามและประเมิน ผลการบริหารและการดำเนินงาน
                 (17) บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษา และ ประสานส่งเสริมการจัดการศึกษา
                 (18) ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการ ศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้จัด
                 (19) หากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่สามารถจัดได้ หน่วยงานที่สามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ คือหน่วยงานดังต่อไปนี้
- การจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย
- การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความสามารถพิเศษ
- การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่อง ทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
                (20) ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการ
               (21) ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษาของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คือ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา




 







\
 


วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3


                                                            ให้นักศึกษาเนื้อหาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูณ คือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
             พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ที่ตราขึ้นในรูปแบบพระราชบัญญัติแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้มีขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งในระบบกฎหมายไทย เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ที่สำคัญเพิ่มเติมในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนพลเมืองรวมทั้งพนักงาน ข้าราชการของรัฐและเอกชนได้เคารพและถือปฏิบัติไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของประเทศชาติ

2. ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
             มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
             มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิหน้าที่เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติรวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติการกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
3. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
            มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้

                      1.  เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
                      2.  ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
                      3.   การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
             มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
             มาตรา 23 การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา
             มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ และให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย     
             มาตรา 28  หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา 10 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัย และศักยภาพ สาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุล ทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่ง และวรรคสองแล้ว ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
              มาตรา 29 ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์การชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน
             มาตรา 30 ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา
4. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
               มาตรา 9  การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
                    1. มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
                    2.  มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                    3.  มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
                    4.  มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
                   5. ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
                   6.  การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์การชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น






วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

      
          ให้นักเรียนอ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้วตอบคำถามต่อไปนี้

1.    ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
หมวดที่ 1 บททั่วไป
                   มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
                   มาตรา2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
หมวดที่ 2 พระมหากษัตริย์
                   มาตรา 8 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้
หมวดที่ 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
                   มาตรา 26 การใช้อำนาจโดองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
                  ส่วนที่ 13 สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
                  มาตรา 68 บุคคลจะใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้
                  มาตรา 69 บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
2.   สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
                 ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
                 มาตรา49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
                 มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการการศึกษาอบรมการเรียนการสอนการวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อเจ้าหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
3.  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
หมวดที่ 6 รัฐสภา ส่วนที่ 2สภาผู้แทนราษฎร

                         มาตรา 93 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนสี่ร้อยแปดสิบคน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวนสี่ร้อยคนและสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวนแปดสิบคนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วีการลงคะแนนโดยตรงและลับโดยให้ใช้บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบละ1ใบ

       ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใดๆทำให้การเลือกตั้งทั่วไปใดๆมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ถึงสี่ร้อยแปดสิบแต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดให้ถือว่าสมาชิกจำนวนนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ต้องดำเนินการให้มีสมาชิกผู้แทนราษฎรให้ครบจำนวนตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันและให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภาผู้แทนราษฎรที่เหลืออยู่
                         มาตรา 99 บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

                   1. มีสัญชาติไทยแต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี

                   2. มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
                   3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง
       4.  ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                 เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของต่างประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับอันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และเป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนรับรู้และปฏิบัติตามเป็นอย่างยิ่ง
  5.  นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้านขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
               จากการที่ดิฉันได้ฟังและรับข่าวสารจากสื่อต่างๆมา ดิฉันคิดว่าในบางกรณีบางมาตราก็สมควรแก้เพื่อให้เป็นไปในทิศทางที่ดีและไม่ขัดต่อประโยชน์ส่วนรวมและเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งตามภายหลัง เพราะการที่จะแก้รัฐธรรมนูญในแต่ละฉบับนั้นมันต้องได้รับความเห็นชอบและความร่วมมือจากหลายฝ่ายรวมทั้งประชาชนด้วยดังนั้นฝ่ายรัฐบาลต้องคำนึงถึงปัญหาและผลที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยนอกจากนี้เพื่อไม่ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งออกมาประท้วงหรือขัดค้าน
  6.   ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภาสภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไรมีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว   
                      นปัจจุบันนี้การปกครองของไทยถือว่าไม่ค่อยจะโปร่งใ



   


                                                                                         











        























 








วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1


ให้นักศึกษาค้นหาคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหาให้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกิจกรรมที่ 1 ของนักศึกษาอย่างน้อยคนละ 10 ชื่อ
                                       
นิยามของคำว่า โดยทุจริต
เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
นิยามของคำว่า หมิ่นประมาท
ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
นิยามของคำว่า ประนีประนอมยอมความ
สัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน
นิยามของคำว่า ถ้อยคำสำนวน
หนังสือใดที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่งรายละเอียดทั้งหมดในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น
นิยามของคำว่า ผู้เสียหาย
บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดั่งบัญญัติไว้ในมาตรา 4,5 และ 6
นิยามของคำว่า โจทก์
หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาลหรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน
นิยามของคำว่า ผู้แทนโดยชอบธรรม
บุคคลซึ่งตามกฎหมายมีสิทธิที่จะทำการแทนบุคคลผู้ไร้ความสามารถหรือเป็นบุคคลที่จะต้องให้คำอนุญาต หรือให้ความยินยอมแก่ผู้ไร้ความสามารถในอันที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
นิยามของคำว่า จำเลย
บุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด
นิยามของคำว่า กฎหมาย
บรรทัดฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบแบบแผน ซึ่งผู้มีอำนาจทางการปกครองบ้านเมืองได้กำหนดขึ้น เพื่อบังคับให้บุคคลปฏิบัติตามหรือห้ามมิให้กระทำ หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามบทบัญญัติ
นิยามของคำว่า‘บุคคลผู้ไร้ความสามารถ
บุคคลใด ๆซึ่งไม่มีความสามารถตามกฎหมายหรือความสามารถถูกจำกัดโดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ
นิยามของคำว่า‘ประชาชน’
สามัญชนทั่วไปที่ไม่ใช่ข้าราชการ พ่อค้า หรือนักบวช (เหมือน ประชาราษฎร์)

ที่มา  :รับฟังความคิดเห็นด้านกฎหมายไทย Lawamendment ร่างกฎหมายใหม่กฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน(ออนไลน์) สืบค้นจาก   http://www.lawamendment.go.th/   [ 10 พฤศจิกายน 2555 ]

นิยามของคำว่า  คำกล่าวโทษ
การที่บุคคลซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย ได้เป็นผู้กล่าวหรือแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นโดยจะรู้ตัวผู้กระทำผิดหรือไม่รู้ก็ตาม  
ที่มา : ศัพท์กฎหมายทั่วไป  สื่อค้นจาก http://blog.eduzones.com/cazii/82767 [10 พฤศจิกายน 2555].